วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วิธีการไรท์ CD/DVD สำหรับโปรแกรม Nero Express

สัปดาห์ 6 โปรแกรม Nero Express

วิธีการไรท์ CD/DVD สำหรับโปรแกรม Nero Express

1. ทำการเปิดโปรแกรม Nero และทำการใส่แผ่น CD / DVD ลงไปในช่อง DVD-ROM ของเรา
2. ทำการเลือกว่าต้องการ Burn แผ่นแบบไหน
Data : เป็นการ Burn แผ่น แบบข้อมูลๆ เช่น จะทำการ Burn ข้อมูลเอกสารต่างๆ เอกสารเล่มจบป.ตรี ให้อาจารย์ หรือจะทำการ Burn พวกรูปภาพต่างๆเก็บไว้
Music : เป็นการ Burn แผ่นแบบ ที่เกี่ยวกับพวกเพลง โดยหลังจากทำการ Burn เราก็จะได้เป็นเพลงแบบ Audio (ถ้าจะ Burn เป็นแบบ MP3 ก็ให้เลือกเป็นแบบ DATA)
Video : อันนี้เป็น Burn ข้อมูลหนังให้เล่นกับเครื่องเล่น DVD ได้ (เน้นย้ำหน่อยนะครับ สำหรับต้นฉนับของ VDO เราจะต้องทำการแปลงไฟล์ให้เป็น VOB ก่อนนะครับ โดยใช้โปรแกรม Format Factory ในการแปลงไฟล์มาก่อน เช่น .MP4 > .VOB จากนั้นก็เอามา Burn ใน Mode Video)
Nero-Burn-Disc-1

3. เมื่อทำการเลือกเรียบร้อย ก็ให้ทำการ กดปุ่ม Add เพื่อทำการ เพิ่มไฟล์ต่างๆเข้ามา
DVD 5 จะเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB
DVD 9 จะเก็บข้อมูลได้ 8 GB
Nero-Burn-Disc-2

4. จากนั้นก็ทำการเลือก Burn Speed
โดยให้เลือกที่ความเร็วต่ำที่สุด เหมาะสำหรับคนที่กำลังจะ Burn ไฟล์ VDO จากนั้นทำการกด Burn
Nero-Burn-Disc-3

5. จากนั้นก็ทำการรอจนกว่าแผ่นจะทำการ Burn เสร็จเรียบร้อย
เท่านี้เราก็สามารถเอาแผ่น DVD ของเราไปให้อาจารย์หรือเพื่อนๆ เพื่อทำการส่งข้อมูลต่างๆให้ได้แล้วครับ โดยพวกแผ่น DVD เราสามารถไปตามหาซื้อได้ที่ร้านในห้างที่ขายคอมพิวเตอร์ เช่น Zeer รังสิต ราคาก็ไม่กี่บาทแล้วครับ ไม่แพงเหมือนแต่ก่อน
แผ่น DVD-R : สามารถ Burn ได้เพียงแค่ครั้งเดียวต่อแผ่น (8บาท/แผ่น)
แผ่น DVD-RW : สามารถ Burn ได้หลายๆครั้ง สามารถลบข้อมูลและ Burn ใหม่ได้ (ราคาแพงหน่อย ตกแผ่นละ 80 บาท/แผ่น)
โดยราคา DVD9 ก็จะแพงกว่า DVD5 ด้วย
CR. http://www.windowssiam.com/burn-disc-nero/

สัปดาห์ที่ 5 ความรู้เบื้องต้นการใช้ WORD 2010

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการใช้ WORD 2010

Standard

shortcut_key_word
โปรแกรม Microsoft Word 2010 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รายงาน จดหมาย ตลอดจนตารางข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก จึงเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน จนทำให้บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาโปรแกรมให้มีความสามารถมากกว่าเดิมอีก และโปรแกรมใหม่นี้มีชื่อ ว่า Microsoft Word 2010
เรื่องที่ 1
เริ่มต้นการใช้งาน Microsoft Word
 การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Word เริ่มด้วยการเปิดโปรแกรม Microsoft Word ดังนี้
  1. คลิกที่ Start > Programs > Microsoft Office > Microsoft Word 2010 ดังภาพ
image005
2.       จะเปิดหน้าต่างโปรแกรม Microsoft Word 2010 ดังภาพ
image006

เรื่องที่ 2
การสร้างเอกสารใหม่
การเริ่มต้นสร้างงานเอกสาร เราต้องเปิดหรือสร้างเอกสารใหม่ได้ขึ้นมาก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. ไปที่แฟ้ม > คลิกสร้าง ดังภาพ
image008
2.       เปิดหน้าต่าง เลือกแม่แบบที่มีอยู่ เอกสารเปล่า คลิกสร้าง จะได้เอกสารเปล่าเพื่อพร้อมที่จะพิมพ์งาน
image009

เรื่องที่ 3 
การเปิดเอกสารเก่าใช้งาน
เมื่อเรามีเอกสารเก่า หรือไฟล์งานเดิมที่บันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว ต้องการที่จะเปิดขึ้นมาใช้งาน หรือทำงานต่อ มีวิธีการดังนี้
  1. เปิดโปรแกรม Microsoft Word 2010 โดย คลิกที่ Start > Programs > Microsoft Office > Microsoft Word 2010
  2. เมื่อโปรแกรม word เปิดขึ้น คลิกที่แฟ้ม > เปิด ดังภาพ
image011
3. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง เปิด ให้เลือกว่าไฟล์ word อยู่ที่ไหน มองหาใน จะตั้งค่าที่ MY Documentเสมอ เราต้องรู้ว่าไฟล์ word ของเราชื่ออะไร เก็บไว้ในไดร์ฟไหน โฟลเดอร์ไหน เลือกที่อยู่ให้ถูกและเลือกไฟล์ แล้วคลิกเปิด
image012
  1. อีกวิธีการหนึ่ง คือ เปิดโปรแกรม word คลิกที่แฟ้ม > จะมองเห็นเอกสารล่าสุด ถ้ามีชื่อเอกสารที่เราจะใช้งาน ก็คลิกเปิดได้เลย ดังภาพ
image013

เรื่องที่ 4
การบันทึกข้อมูล
นการทำงานโปรแกรม word เราควรจะคลิกปุ่มบันทึก       บนแท็บ ไว้เรื่อย ๆ เพื่อป้องกันงานสูญหาย เนื่องจาก ไฟดับ ปลั๊กหลุด หรือเครื่องแฮงค์ เป็นต้น
การบันทึกงานครั้งแรก ให้ทำงานขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกที่ไอคอนบันทึก      โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง บันทึกเป็น
  2. ในช่องบันทึกใน ให้คลี่สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ลงมาเพื่อเลือกบันทึกงานว่าเก็บไว้ที่ใด ไดร์ฟไหน โฟลเดอร์ใด
  3. ในช่องชื่อแฟ้ม ให้ตั้งชื่อไฟล์
  4. แล้วคลิกบันทึก
image016
นอกจากนี้ การบันทึกไฟล์งาน นอกจากจะคลิกที่ปุ่มบันทึก     แล้วยังสามารถบันทึกได้โดย
  1. ไปที่แท็บ แฟ้ม > คลิกบันทึก ดังภาพ
image017
  1. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง เปิด ให้เลือกบันทึกใน ไดร์ฟหรือโฟลเดอร์ไหน และตั้งชื่อไฟล์ก่อนคลิกบันทึก เหมือนวิธีเดียวกับคลิกบันทึกจากปุ่มบันทึก
  2. การบันทึกอีกรูปแบบหนึ่ง คือ บันทึกเป็น ใช้ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนที่เก็บ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์
image018

เรื่องที่ 5 
การแทรกข้อความ
เมื่อเราพิมพ์งานหรือจัดหน้าเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เราต้องการจะเพิ่มเติมข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์ เราสามารถทำได้ ดังนี้
  1. คลิกตั้งเคอร์เซอร์บริเวณที่จะเติมข้อความ ดังภาพ
image020
2.       สำหรับข้อความที่จะเติมเราสามารถพิมพ์เติมเข้าไปได้เลยหรือไป copy มาจากที่อื่นก็ได้ โดยป้ายเลือกบริเวณที่ต้องการ ให้เกิดแถบสี แล้วคลิกขวา คัดลอก ดังภาพ
image021
  1. เมื่อคัดลอกมาแล้ว เราจะนำมาวางตรงที่ตั้งเคอร์เซอร์ไว้ ให้คลิกขวา > เลือกตัวเลือกการวาง ดังภาพ
image022 - Copy
image024
image025
การวางแบบพิเศษ สามารถเลือกรูปแบบเอกสารที่จะวางได้ตามตัวเลือก เมื่อเลือกได้แล้วคลิกตกลง ดังภาพ
image026
5. เมื่อเลือกลักษณะการวางได้ตามต้องการแล้ว ก็จะปรากฏข้อความที่ copy มา ดังภาพ
image027

เรื่องที่ 6 
การเลื่อนไปส่วนต่างๆของเอกสาร
การเลื่อนไปยังส่วนต่าง ๆ ของเอกสาร ทำได้หลายวิธีการ ดังนี้
  1. เลื่อนขึ้น-ลง ไปยังส่วนต่าง ๆ หรือหน้าต่างของเอกสารโดยใช้ แถบเลื่อน (Scroll Bar)
    ดังภาพ
image029
  1. ใช้ลูกศรขึ้น  และลูกศรลง  ที่อยู่ด้านข้างทางขวามือของหน้าจอ คลิกขึ้น-ลง เพื่อเลือกหน้าที่ต้องการ
  2. ใช้ลูกศรคลิกไปหน้าก่อน และหน้าถัดไป

image032

4. คลิก  วงกลมเพื่อเลือกลักษณะการเรียกดู ดังภาพ

image034
5. เลือกไปที่ ดังภาพ
image035
6. จะเปิดหน้าต่าง ค้นหาและแทนที่ ให้กำหนดว่า จะไปหน้าไหน ให้ใส่หมายเลขหน้าตามที่ต้องการ ดังภาพ
image036
7. สมมติว่า จะไปหน้า ก็ใส่เลข 1 แล้วคลิกปุ่ม ไปที่ ดังภาพ
image037

เรื่องที่ 7 
การออกจากโปรแกรม
เมื่อพิมพ์เอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราบันทึกงานเก็บตามขั้นตอนและต้องการจะออกจากโปรแกรม มีหลายวิธีการดังนี้
วิธีที่1 ไปที่แท็บแฟ้ม เลือกจบการทำงาน โปรแกรมจะปิดตัวเอง ออกจากโปรแกรม Microsoft Word ดังภาพ
image039
วิธีที่ คลิกที่เครื่องหมายกากบาทสีแดง ที่มุมบนขวามือของหน้ากระดาษ โปรแกรมจะปิดตัวเอง ออกจากโปรแกรม Microsoft Word ดังภาพ
image040


CR.https://boonyapornratchoo.wordpress.com/2014/07/18/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/

สัปดาห์ที่ 4 โปรแกรม Adobe Photoshop CS6

Icon แสดงสัญลักษณ์ของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
         สาระที่ 2 คุณสมบัติพื้นฐานของโปรแกรม
โปรแกรม Photo shop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่มนิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง 

เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop นี้ได้ด้วยตัวเอง  คุณสามารถที่จะทำการแก้ไขภาพ ตกแต่งภาพ ซ้อนภาพในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การใส่ข้อความประกอบลงในภาพด้วย  และเนื่องด้วย Adobe Photoshop มีการพัฒนาโปรแกรมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราจำเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่างๆ ให้เข้าใจ แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณเรียนรู้การใช้คำสั่งในเวอร์ชั่นเก่า คุณก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้ด้วยครับ

  ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop ที่ควรทราบ 
  • ตกแต่งหรือแก้ไขรูปภาพ
  • ตัดต่อภาพบางส่วน หรือที่เรียกว่า crop ภาพ
  • เปลี่ยนแปลงสีของภาพ จากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งได้
  • สามารถลากเส้น แบบฟรีสไตล์ หรือใส่รูปภาพ สี่เหลี่ยม วงกลม หรือสร้างภาพได้อย่างอิสระ
  • มีการแบ่งชั้นของภาพเป็น Layer สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้เป็นอิสระต่อกัน
  • การทำ cloning ภาพ หรือการทำภาพซ้ำในรูปภาพเดียวกัน
  • เพิ่มเติมข้อความ ใส่ effect ของข้อความได้
  • Brush หรือแปรงทาสี ที่สามารถเลือกรูปแบบสำเร็จรูปในการสร้างภาพได้และอื่นๆ อีกมากมา
                 โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เมื่อทำการเปิดโปรแกรมแล้ว จะพบหน้าตาของโปรแกรมดัง รูป 


มีส่วนสำคัญหลักที่ที่ต้องรู้ดังนี้
1. เมนูของโปรแกรม Application menu หรือ Menu bar ประกอบด้วย
     1. File หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่, เปิด, ปิด, บันทึกไฟล์, นำเข้าไฟล์, ส่งออกไฟล์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์
     2. Edit หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขภาพ และปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมเบื้องต้น เช่น ก๊อปปี้, วาง, ยกเลิกคำสั่ง, แก้ไขเครื่องมือ และอื่น ๆ
     3. 
Image หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี, แสง, ขนาดของภาพ (image size), ขนาดของเอกสาร (canvas), โหมดสีของภาพ, หมุนภาพ และอื่น ๆ
     4. Layer หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์, แปลงเลเยอร์ และการจัดการกับเลเยอร์ในด้านต่าง ๆ
     5. select  รวม คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection) เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือกเพื่อเปลี่ยนสี, ลบ หรือใช้เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ
     6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
     7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
     8. Window  เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ
     9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น

2. เมนูของพื้นที่ทำงาน Panel menu
     Panel (พาเนล) เป็นวินโดว์ย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียด หรือคำสั่งควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม ใน Photoshop มีพาเนลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พาเนล Color ใช้สำหรับเลือกสี, พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการกับเลเยอร์ และพาเนล Info ใช้แสดงค่าสีตรงตำแหน่งที่ชี้เมาส์ รวมถึงขนาด/ตำแหน่งของพื้นที่ที่เลือกไว้

3. พื้นที่ทำงาน Stage หรือ Panel
      เป็นพื้นที่ว่างสำหรับแสดงงานที่กำลังทำอยู่ 

4. เครื่องมือที่ใช้งาน Tools panel หรือ Tools box
     Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2 เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย

5. สิ่งที่ควบคุมเครื่องมือที่ใช้งาน Tools control menu หรือ Option bar
      Option Bar (ออปชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ โดยรายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        สาระที่ 3 เครื่องมือพื้นฐานของโปรแกรม Tools
 Tool Panel (ทูลพาเนล) หรือ กล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่บริเวณมุมด้านล่างดังภาพ 2 เพื่อบอกให้รู้ว่าในปุ่มนี้ยังมีเครื่องมืออื่นอยู่ด้วย

ทำการแบ่งกลุ่มเครื่องมือได้ดังภาพต่อไปนี้


เครื่องมือแต่ละชิ้นมีคุณสมบัติดังนี้


Move
ใช้สำหรับเลือกพื้นที่บนภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือเลือกเป็นแถวคอลัมน์  ขนาด 1 พิเซล

Marquee
   ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือกไว้ของภาพ หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์

Lasso
ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ

Magic Wand
ใช้เลือกพื้นที่ด้วยวิธีระบายบนภาพ หรือเลือกจากสีที่ใกล้เคียงกัน

Crop
ใช้ตัดขอบภาพ

Slice
ใช้ตัดแบ่งภาพเพื่อบันทึกไฟล์ภาพย่อย ๆ ที่เรียกว่าสไลซ์ (Slice)
สำหรับนำไปสร้างเว็บเพจ

Eyedropper
ใช้เลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ

Healing Brush
ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ

Brush
ใช้ระบายลงบนภาพ

Clone Stamp
ใช้ทำสำเนาภาพ โดยก๊อปปี้ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย หรือระบายด้วยลวดลาย

History Brush
ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะ
เดิมที่บันทึกไว้

Eraser
ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ

Gradient
ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ

Blur
ใช้ระบายภาพให้เบลอ

Bern
ใช้ระบายเพื่อให้ภาพมืดลง

Dodge 
ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น

pen
ใช้วาดเส้นพาธ (Path)

Horizontal Type
ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ

Path Selection
ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ

Rectangle
ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป

Hand
ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ

Zoom
ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาด

set Foreground Color, Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี
- Foreground Color และ  Background Color

เปิดแสดงหน้ากระดาษ แบบ Full screen

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
       สาระที่ 4 ความหมายและความสำคัญของเลเยอร์ Layer
        เลเยอร์ Layer ชิ้นงานย่อย หรือเรียกให้เข้าใจง่ายคือ ชั้นของชิ้นงานใหญ่ เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Photoshop นั่นคือการนำชั้นต่างๆ มาผสมกันเพื่อปรับแต่งให้เกิดความสวยงามมากขึ้น
Layer
สามารถทำอะไรกับเลเยอร์

แสดงหรือซ่อน (Show or Hide Layer) การคลิกที่รูปดวงตาแต่ละครั้ง จะเป็นการเปิดเพื่อแสดง หรือปิดเพื่อซ่อนสีิงที่อยู่ในเลเยอร์ เช่น ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงภาพของเลเยอร์ใด ก็ทำการปิด หรือซ่อนไป
คัดลอก และ ทำซ้ำเลเยอร์ (Copy and Duplicate Layer) แบ่งเป็น
การคัดลอเเลเยอร์จากชิ้นงานหนึ่งไปยังอีกชิ้นงานหนึ่ง ทำได้หลายวิธี
  • คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก ใช้โปรแกรมเมนู Edit เลือก Copy หรือกดปุ่ม Ctrl C คลิก Tab ของชิ้นงานที่เราต้องการจะให้เลเยอร์นั้นมาวางไว้แล้วคลิก Edit เลือก Paste หรือกดปุ่ม Ctrl V  
  •  คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอก คลิกขวาที่เม้าส์ เลือก Duplicate Layer จะได้หน้าต่างตามภาพด้านล่าง ใส่ชื่อในช่อง Destination ให้เป็นชื่อชิ้นงานที่เราต้องการนำเลเยอร์นี้ไปไว้
  • คลิกเลเยอร์ที่ต้องการทำการคัดลอกค้างไว้ แล้วลากไปยังอีก Tab ของอีกชิ้นหนึ่งโดยตรง 
การคัดลอกเลเยอร์ในชิ้นงานเดียวกัน
  •  คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Duplicate Layer จะมีหน้าต่างเหมือนภาพที่ด้านบนเช่นกัน แต่ช่อง Destination ไม่ต้องกำหนดชื่อชิ้นงานอื่น
  •  คลิกที่เลเยอร์ ใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก New เลือก Layer via Copy (คีย์ลัด Ctrl + J)
  • คลิกที่เลเยอร์นั้น และกดคีย์ Alt พร้อมกับลากเลเยอร์ไปยังตำแหน่งใน Panel ที่ต้องการวาง ปล่อยเม้าส์
ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ (Move Layer)

ขั้นตอนการทำคล้ายกับการคัดลอก เพียงเปลี่ยนคำสั่งจาก Edit - Copy เป็น Edit Cut หรือ Ctrl X ในกรณีที่ย้ายคนละชิ้นงาน แต่ถ้าชิ้นงานเดียวกันเพียงคลิกที่เลเยอร์ และทำการเลื่อนไปยังตำแหน่งบน Panel ที่ต้องการเท่านัน

เพิ่มเลเยอร์ (Add Layer)
เพียงแค่คลิกไอคอน Create a new Layer ซึ่งอยู่ด้านล่างของ Layer Panel ติดกับรูปถัง ก็จะได้เลเยอร์เพิ่มแล้ว หรือถ้าต้องการใช้คำสั่งจากเมนูโปรแกรม เลือก Layer เลือก New เลือก Layer ตั้งชื่อ และ Enter ก็ได้เหมือนกัน  
 ลบเลเยอร์ (Delete Layer)
วิธีลบเลเยอร์ทำโดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Backspace หรือใช้โปรแกรมเมนู Layer เลือก Delete เลือก Layer หรือโดยการคลิกที่เลเยอร์แล้วลากมาที่รูปถัง

การล็อค และ ปลดล็อค เลเยอร์ (Lock and Unlock Layer)
การล็อคเลเยอร์ ทำได้โดย คลิกที่เลเยอร์ที่ต้องการล็อค แล้วคลิกที่รูปกุญแจ ส่วนการปลดล็อคก็เพียงทำซ้ำขั้นตอนเดียวกัน
การปลดล็อคเลเยอร์  Background วิธีปลดล็อคทำได้โดย ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ จะมีหน้าต่างดังภาพขึ้นมา จะตั้งชื่อเลเยอร์ใหม่หรือไม่ก็ได้ เลเยอร์นั้นก็จะปลดล็อคเป็นเลเยอร์ธรรมดา

ตั้งชื่อเลเยอร์ (Name Layer)
วิธีตั้งชื่อให้กับเลเยอร์ ทำโดยดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อบนเลเยอร์นั้น และพิมพ์ชื่อ เสร็จแล้ว Enter สำหรับ Photoshop CS6 เมื่อพิมพ์ชื่อเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว สามารถกด Tab เพื่อเลื่อนไปยังเลเยอร์อื่นเพื่อทำการพิมพ์ชื่อได้เลย ไม่ต้องมาทำซ้ำขั้นตอนเดิม ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก

คลิปปิ้งเลเยอร์ (Clipping Layer)
หมายถึงการทำให้เลเยอร์หนึ่งมีผลกับอีกเลเยอร์หนึ่งเท่านั้น ไม่ไปกระทบเลเยอร์อื่นซึ่งอยู่ถัดลงไป อ่านแล้วคงจะ งง ลองดูภาพด้านล่างนะครับ จากภาพจะเห็นเลเยอร์ Wood Gain ซึ่งเป็นลายไม้ ผมต้องการให้ลายไม้นี้มีผลกับกรอบภาพซึ่งเป็นเลเยอร์ Frame ที่อยู่ถัดลงไปด้านล่างเท่านั้น ผมจึงใช้การ Clipping ซึ่งจะเห็นลูกศรอยู่ที่ด้านหน้านของเลเยอร์ Wood Gain การทำเช่นนี้ จะทำให้ได้กรอบภาพที่มีลายไม้สวยงามขึ้นมาแทนกรอบสีแดงเหลือง ในเลเยอร์ Frame

การทำ Clipping โดยการใช้คีย์ลัด ให้กดปุ่ม Alt แล้ววางเม้าส์ไว้ระหว่างทั้งสองเลเยอร์ จากนั้นคลิก หรือถ้าจะใช้คำสั่งโปรแกรมเมนู Layer เลือก Create Clipping Mask (คีย์ลัด Alt + Ctrl + G) ถ้าต้องการยกเลิกก็เพียงแค่ทำซ้ำวิธีเดิม โปรแกรมเมนู Layer เลือก Release Clipping Mask หรือ กดปุ่ม Alt แล้วคลิกเม้าส์ที่เดิมอีกครั้ง



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        สาระที่ 5 การเปิดพื้นที่การใช้งาน การนำภาพเข้าใช้งาน และการบันทึกงาน
         การเปิดพื้นที่การใช้งานใหม่
         1. ไปที่ Application menu เลือก File > New จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด่านล่าง


       2. จากรูปมีการกำหนดค่าต่างๆมากมาย 
  • ช่อง Name คือการกำหนดชื่อของชิ้นงาน
  • ช่อง Preset คือ ชนิดของงานต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้แล้ว มีให้เลือกมากมาย เช่น Web , Photo ,U.S.paper , international paper
  • ช่อง size จะสัมพันธ์กับช่อง Preset คือ ขนาดของงานแต่ละชนิด เช่น ค่า Preset เป็น International paper ช่อง Size ก็จะมีตัวเลือก คือ A4 , A3 , A2 ,A1 และอื่นๆ
  • ช่อง width คือขนาดความกว้างของชิ้นงาน หากต้องการกำหนดเอง มีหน่วนให้เลือก 7 ชนิด
  • ช่อง Hight คือขนาดความสูงของชิ้นงาน 
  • ช่อง Resolution คือ ความละเอียดของงาน มีหน่วยเป็น Pixelต่อนิ้ว และ Pixel ต่อเซนติเมตร
  • ช่อง Color mode คือชนิดของพื้นที่สีในการทำงาน มีให้เลือกหลากหลาย เช่น RGB , CMYK และมีค่าความละเอียดให้เลือกเป็น bit
  • ช่อง Background Contents คือเลือกชนิดของ พื้นหลังงาน มี 3 แบบ คือ แบบขาว แบบสี และแบบโปร่งใส
          เมื่อทำการกำหนดขนาดของงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิปปุ่ม OK เพื่อทำการเปิดพื้นที่การทำงานดังตัวอย่างภาพ เปิดพื้นที่งานขนาด A4 พื้นหลัง สีขาว

      
     การนำภาพเข้าใช้งาน
      หากเรามีภาพที่ต้องการเปิดเข้าใช้งานในโปรแกรม ในทำการ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
       ไปที่ File > open เลือก Floder ที่มีรูปที่เราต้องการ เลือกรูปนั้นแล้วกด Open
     จะได้รูปมาปรากฎอยู่ที่ Stage หรือพื้นที่การทำงานดังรูป ตามตัวอย่างด้านล่าง ใช้รูปดอกบัว

     การบันทึกงาน
     สมมุติว่า เราได้แต่งรูป พระทราย ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องการบันทึกการทำงาน ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ไปที่ File > Save as จะปรากฎหน้าต่างดังรูปด้านล่าง
  • ช่อง File name คือให้เราตั้งชื่องาน
  • ช่อง Format คือ การบันทึกไฟล์งานประเภทต่างๆ เช่น PSD , JPEG , TIFF และอื่นๆ 
  • เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้ว กด Save ก็จะทำการบันทึกสำเร็จ