วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด

Business Enviroment

  

  

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ
 
1.สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment 

คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
 
2.สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment

 ภาวะ แวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
 

 

 

 
 

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment
 
        คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
        - ตลาด หรือลูกค้า (Market)
        - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
        - คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
        - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
 
        คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
        - ด้านการเมืองและกฎหมาย 
        - เศรษฐกิจ
        - สังคม
        - เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


        SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัย เหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
1.S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด 
2. W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
3.O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
4.T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

1)SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

E-business infrastructure

posted on 25 Mar 2013 21:59 by arsalgod  in Chapter2
 Technology infrastructure 

คือ โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีผลต่อคุณภาพการบริการแก่ผู้ใช้งานของระบบทั้งในแง่ของความเร็ว(Speed) และ การตอบสนองต่อการร้องขอระบบ (responsiveness)  
โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหัวใจหลักของ infrastructure  
1. Hardware
2. Software
3. Network
4. Input
E-business infrastructure หมายถึง 
การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์
 

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components
 
1. Application          - ไม่สนใจว่าจะใช้อะไร,เป็นการจัดการให้ประสบความสำเร็จ
2. Software             - Web,linux,database / ใช้ Software อะไรในการจัดการบริหาร
3. Transport            - ติดต่อสื่อสาร,Protocal,TCP/IP
4. Storage               - ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ,ฮาร์ดดิส,แรม เก็บไว้ที่ไหนอย่างไร
5. Content and Data - การจัดการบริหาร,Intranet,Extranet
 
Internet หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเล็กและใหญ่จำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกัน จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อ(โปรโตคอล) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า TCP/IP
การใช้งานอินเทอร์เน็ต  การใช้บริการเว็บจะทำงานภายใต้ โปรโตคอล HTTP  โดยโปรโตคอลจะเป็นตัวกำหนดวิธีการส่งข้อมูลหรือไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Client และ Server รวมถึงการกำหนด กฏระเบียบในการติดต่อด้วย เราจะใช้โปรแกรมประเภท Browser เป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสาร
 
 เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html)
เช่น
-Internet Exlorer          
-Mozilla Firefox            
-Google Chrome          
-Safari
 
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) 
 
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
วิวัฒนาการของเว็บ 1.0, Web 2.0 Web 3.0
 
 
 
 
Web 1.0 
1.ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) 
2.สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master )
3.ใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language)
 
Web 2.0  
1. ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write )  
2.พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ 
 
web 3.0
1.ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (view ,create ,copy ,share etc.) ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย อุปกรณ์ใดๆที่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ 
2.การพัฒนาให้มี ความฉลาดรู้ หรือ มี AI (Artificial Intelligence) 
3.สามารถค้นหา และคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค แต่ละคนได้  อุปกรณ์ไอที Gadget ต่างๆ
 
 
เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
 
1. AI (Artificial Intelligence) ปัญญาประดิษฐ์เป็นการสร้างความฉลาดให้กับระบบคอมพิวเตอร์
2. semantic web การรวบรวมฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติ
3. Automated reasoning การเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์รุ้จักการแก้ปัญหาเอง
4. semantic wiki เป็นการอธิบายคำๆนึงที่คล้ายกับดิกชันนารี ทำให้เราหาความหมายได้แม่นยำ
5. ontology language หรือ OWL เป็นภาษาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์
Blog  คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์  โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ, รูป และลิงค์

จุดเด่นของ Blog

      - เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านที่เป็นกลุ่ม           เป้าหมายได้ชัดเจน
      - มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น         - Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ 
ข้อแตกต่างของ Blog กับเว็บประเภทอื่น

- การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย
- มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ
- มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ
- ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ  เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
- เจ้าของ blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น

Internet Forum
- ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
- มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
- ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้ 
- ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพส ความคิดเห็นของตนเองลงไปได้

Wiki
            สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อนWiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ

Instant Messaging
             เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy 
ตัวอย่างเช่น Gtalk  , Skype  , Meetro , ICQ , Yahoo Messenger  , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger  เป็นต้น

Folksonomy(ปัจเจกวิธาน)
             การจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. ค้นหาในเนื้อความ  (Text Search)
2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา  (Chronological)
3. แยกตามกลุ่มประเภท  (Category, Classification)

ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
                ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ
- เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
- ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้
- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน
- การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
- การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด
- ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ

Networking standards
                เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต


TCP/IP
                คือ ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocol

The HTTP protocol
HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web

Uniform resource locators (URLs)
                คือ ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา
                ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือที่อยู่อินเตอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

Domain names
                คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
- ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
- ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
- ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
- ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า   
  Registrant E-mail
- บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ
 
 
 
 
 

Introduction to E-Business and E-Commerce

posted on 19 Mar 2013 20:50 by arsalgod  in Chapter1
 
 
 
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือ โลกเสมือน 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้ทั่วโลก ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อิทธิพลของ Virtual World ส่งผลให้เด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่เอง เกิดความหลงใหล มีจำนวนผู้เข้าไปในโลกแห่งนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โลกเสมือน 3 มิติหรือโลกเสมือนจริง ในปัจจุบัน มีตัวอย่างให้พวกเราได้เห็นกันหลายรูปแบบ อาทิ

  • เครือข่ายสังคม เช่น Hi5, Facebook
  • เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd source - Wikipedia
 
Location Based Services (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สายที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ

Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น 
Hi5, MySpace, Facebook
Electronic Commerce หรือ E-Commerce
คือการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์คู่สายโทรศัพท์ โมเดม และเป็นสมาชิกของบริการ Internetก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้
 
 
E-Business  คือรูปแบบของการทำธุรกิจโดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หรือ ระบบเครือข่าย (Internet ,Intranet หรือ Extranet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ การจัดการด้านการตลาดสำหรับองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ ส่วนบุคคลเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ
BI (Business Intelligence) คือ เทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการดูในหลากหลายมุมมอง (Multidimensional Model) ของแต่หน่วยงาน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานในองค์กรทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น BI Application จะรวบรวมการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แบบสอบถามและสร้างรายงานเพื่อการวิเคราะห์

EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
 
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า 

SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค 

ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน


 
Intranet คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกับinternetแต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง บางครั้งถูกเรียกว่า Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 

Extranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ใช้ internet protocol และระบบการสื่อสารสาธารณะที่มีความปลอดภัยในการแบ่งส่วนของสารสนเทศ หรือ การปฏิบัติงานของบริษัทกับผู้ขายสินค้า หุ้นส่วน ลูกค้า หรือธุรกิจอื่น extranet สามารถมองเห็นส่วนของ internal ที่มีขยายไปสู่ผู้ใช้ภายนอกบริษัท ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเป็น "สถานะของภายใน" ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอื่น และการขายสินค้าให้ลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จาก HTML, Hypertext Transfer Protocol (HTTP) , Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตที่ได้นำเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือ intranet ที่ดูเหมือนได้รับการออกแบบในเชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจต่างๆ extranet ต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทำให้ต้องการ firewall server ในการบริหารการจ่ายและใช้ของ digital certificate หรือวิธีคล้ายกันของ user authentication, การ encryption ข่าวสาร และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) ที่เป็นช่องทางในเครือข่ายสาธารณะ
 
 
ที่มา http://arsalgod.exteen.com/page/3

แนวโน้มการตลาด

แนวโน้มของธุรกิจออนไลน์ของSME


ลงวันที่ :: 14 เมษายน 2557 จำนวนผู้เข้าดู :: 272
การตลาดยุคดิจิตอล

แนวโน้มของธุรกิจออนไลน์สำหรับธุรกิจ SME เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจควรศึกษาแนวโน้มในอนาคต เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจ SME ควรค้นหาว่า ธุรกิจของคุณควรจะลงทุนทำธุรกิจออนไลน์ในด้านไหน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

โทรศัพท์มือถือ

Internatinal Data Crop คาดการณ์ว่าภายในปี 2015 การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ จะแซงหน้าคอมพิวเตอร์พีซี ขณะเดียวกัน ด้วยแนวโน้มที่ตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันในวงการร้านค้าปลีกออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอย่างน้อยที่สุด ก็ควรจัดการให้เว็บไซต์มีบริการเชื่อมโยงกับสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ

จากผลสำรวจโดย Com Score ชาวอเมริกันซื้อสินค้าผ่านสมาร์โฟนมากขึ้นถึง 86 ล้านคน โดยมีเหตุผลด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัยในระบบชำระเงินเป็นหลัก

วีดีโอ คอนเทนต์ (Video Content)

เครือข่ายสังคมออนไลน์และโลกอินเตอร์เน็ตเฟื่องฟู การแสดงเนื้อหาข้อมูลสินค้าผ่านภาพเคลื่อนไหวนับเป็นกลยุทธ์การตลาดในการนำเสนอแบรนด์และสินค้าให้เป็นที่ประทับใจและจดจำ แน่นนอนว่า สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องทุ่มลงทุน กระนั้นก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาทักษะวีดีโอคอนเทนต์ อย่างน้อยก็คือการลงทุนเรื่องเวลา ทรัพยการ และการตัดต่อขั้นพื้นฐาน

ดูตัวอย่างการใช้วีดีโอคอนเทนต์ Youtube Marketing 

 การโฆษณาประชาสัมพันธ์บนสังคมออนไลน์ (Social Advertising)

ขณะนี้ยังไม่มีทฤษฎีตายตัวว่าสมควรจะใช้การตลาดสังคมออนไลน์ไปในทิศทางใดดีกว่ากัน กระนั้นธุรกิจขนาดเล็กต้องหาโอกาส เงิน ทุน และเวลา ในการทำความเข้าใจกับการตลาดด้านนี้อย่างถ่องแท้ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติของสื่อเหล่านี้ เช่น เฟสบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ ว่าจะสามารถทำการตลาดได้อย่างไร เนื่องจากสังคมออนไลน์เหล่านี้ได้รับการยอมรับแล้วว่าค่อนข้างมีอิทธิพลอย่างมากในการช่วยให้เจ้าของกิจการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงและรวดเร็ว

ดูตัวอย่างการใช้ Facebook Marketing ในการทำโฆษณาบนสังคมออนไลน์

คูปองดิจิตอล

คูปองส่วนลดคือสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วในตลาดผู้บริโภค เนื่องจากเป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ทว่าด้วยกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม และความสะดวกในการพกพา ทำให้เริ่มมีการพัฒนาคูปองไปสู่รูปแบบดิจิตอล ที่มีการใช้บ้างแล้วในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่การสำรวจพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตอบรับคูปปองผ่านทางอีเมล์

ดูตัวอย่างการใช้ Coupon Marketing

ทั้งนี้ด้วยแนวโน้มที่โลกออนไลน์จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ แนวทางอนาคตของอีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจขนาดเล็กคือ ฉลาดกว่า เร็วกว่า และมีแววสดใสมากกว่า

ที่มา http://thaitradecluster.com/index.php?modules=article&file=view&id=1397396132

อินเทอร์เน็ต

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต



     ประวัติของอินเตอร์เน็ต
            อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
           การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
 
       ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น







ความหมายของอินเตอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ


ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

          1) การบริการทางธุรกิจ  :  อินเตอร์เน็ตเป็นลู่ทางใหม่ทางการค้า เพราะผู้ขายสามารถประกอบธุรกิจทางการค้าผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ลูกค้าสามารถชมภาพ และรายละเอียดของสินค้าเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันที ณ เครื่องของลูกค้าเอง ผู้ขายเพียงแค่จัดเตรียมข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตน ก็สามารถบริการขายลูกค้าได้ทั่วโลกพร้อม ๆ กัน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการประชาสัมพันธ์มากเท่าวิธีอื่น   สามารถซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง เพียงแต่ลูกค้าจะต้องมีบัตรเครดิต เมื่อสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ก็กรอกหมายเลขบัตร  แล้วระบุสินค้าที่ต้องการ จากนั้นสินค้าจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ และเงินจะถูกหักจากบัญชีเครดิต

         2). การบริการข้อมูลข่าวสาร  :  ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญไม่ว่าเรื่องใด ๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ของตนไปยังผู้คนทั่วโลกได้โดยง่าย เช่น ถ้ามีความชำนาญในการสอนนวดแผนไทย  ก็สามารถนำข้อมูลการสอนนวดฯ พร้อมกับภาพประกอบไปใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้คนที่สนใจอาหารไทยทั่วโลกได้รับทราบอย่างง่ายดาย ในทางกลับกันก็สามารถค้นหาข้อมูลได้แทบทุกชนิดจากอินเตอร์เน็ต โดยอาจจะอาศัยเครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ตซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและมีให้เลือกมากมาย

         3) การพบปะและสนทนากับผู้คน :  สามารถส่งจดหมายที่เรียกว่า "อีเมล์ (Electronic Mail : e-mail)" หรือพิมพ์ประโยคโต้ตอบกับผู้คนที่อยู่กันคนละซีกโลกได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถคุยโต้ตอบผ่านอินเตอร์เน็ตในลักษณะโทรศัพท์ไปทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ได้อีกด้วย หรือคุยกันผ่านเว็บแคม เห็นหน้า ได้ยินเสียงแบบเรียลไทม์ก็ได้

         4) การบริการซอฟต์แวร์ : ในอินเตอร์เน็ตมีบริการซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยให้ได้ใช้ และสามารถโอนย้ายซอฟต์แวร์จากอินเตอร์เน็ตมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย
มีทั้งแบบที่ให้ทดลองใช้ก่อน  แบบให้ใช้ฟรี และแบบที่ต้องเสียเงิน

         5) ความบันเทิง : มีความสามารถในการนำเสนอความบันเทิงรูปแบบต่างๆ เช่น เพลง รายการวิทยุ เกมส์ ได้

         6) การศึกษา  ในระบบการศึกษาได้นำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการศึกษามากขึ้น ทั้งช่วยในการสืบค้นข้อมูลและในการเรียนการสอนด้วยทั้ง E-libaray, E-learning



ลักษณะการให้บริการบนอินเตอร์เน็ต

    บริการ ของ อินเตอร์เน็ต ได้แก่

        1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 

        2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 

        3. การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 

       4. การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้ 

       5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
 
       6. การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 

       7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 

       8. การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา http://fatmee329.blogspot.com/2013/06/1.html

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     แบ่งกันตามความสัมพันธ์ทางการตลาดได้ 3 รูปแบบดังนี้
        1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก


ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (B2B : Business to Business)
ที่มา : http://www.logisticsexchange.net/th/register.php

        2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล


ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (C2C : Consumer to Consumer)
http://www.boardofinnovation.com/business-model-examples/the-broker

        3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า


การติดต่อระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค
ที่มา : http://www.b2ccreation.com/images/B2C-eCommerce.jpg


ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
     • ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
        • ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
        • ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก
        • ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
     • ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์
        • ลงประกาศตามกระดานข่าว
        • จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์
        • โฆษณาผ่านอีเมล์
        • แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ
        • ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
        • การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์
     • ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย
        • ต้องรักษาความลับได้
        • เชื่อถือได้
        • พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
     • ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า
        • สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)
        • สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)
           • software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร
     • ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย


แผนภาพ แสดงการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/newsletter/dec1999.html
 

ระบบวิจัยการตลาด

การวิจัยตลาด (Market Research)
        เป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ อันเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง และ/หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งมักจะเป็นการรวบรวม ข้อมูลในบางรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Researchหรือที่ มักเรียกว่าการวิจัยบนโต๊ะ Desk Research ) หรือการวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ตอบคำถาม
        จุดประสงค์ของโครงการวิจัยตลาดใดๆก็คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่ทำการศึกษาให้มากขึ้น จากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันการวิจัยตลาดจึงอยู่ในระเบียบวาระในหลายๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามจนการออกแบบสินค้าหรือบริการ

การวิจัยตลาดของทีมงาน ดีบีฟอบิสเนส ในด้านการวิจัยตลาด มีดังนี้

  • บริการจัดทำแบบสอบถามทั้งภาษาไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ
  • บริการแจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล
  • บริการลงสำรวจพื้นที่ พร้อมทำรายงานความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจต่างๆ

ขั้นตอนวิธีการวิจัยมีดังนี้

วิจัยตลาด marketing research

  • ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดชี้วัดลงไปว่ามีปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
  • ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ก่อนที่จะตรวจสอบคำตอบที่แท้จริง ของคำตอบนั้นๆ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) เป็นการศึกษา ค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
  • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยวิธีการทางสถิติหรือตรรกศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่า สมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่
  • ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหานั้นคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด

        เพื่อทำการวิจัยตลาด เหล่าองค์กรอาจตัดสินใจทำโครงการวิจัยด้วยตนเอง ( บางองค์กรอาจใช้ฝ่ายการวิจัยตลาด) หรืออาจใช้บริการ บริษัทหรือที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการวิจัยใดๆก่อนที่จะทำการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้อะไรจากการวิจัยและจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง
        หลังจากที่พิจารณาเรื่องของวัตถุประสงค์ การวิจัยตลาดสามารถนำเทคนิคและวิธีการวิจัยหลายๆแบบมาใช้เพื่อให้ได้้ข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเชิงข้อมูลปริมาณ (Quantitative information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative information) ซึ่งการนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย แต่ส่วนมากเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์สูงสุดหากรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

วิจัยตลาด marketing research

        การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงตัวเลขที่มุ่งเน้นความสนใจไปที่การวัดปรากฏการณ์ทางการตลาดและมักจะเกี่ยวเนื่องกับ การวิเคราะห์ทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารหนึ่งๆอาจขอให้ลูกค้าทำการให้คะแนนการบริการของธนาคารว่ายอดเยี่ยม ดี แย่หรือแย่มาก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถวิเคราะห์ออกมาในเชิงสถิติได้ ข้อสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ตอบคำถามทุกๆคน จะต้องได้รับคำถามชุดเดียวกัน วิธีการนี้เป็นแบบแผนอย่างมากและมักจะเกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมาก
        บางทีเทคนิคเชิงปริมาณที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดคือ “การสำรวจวิจัยทางการตลาด” (market research survey) โครงการเหล่านี้เป็นโครงการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆรูปแบบ เช่น ลูกค้าหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ การสำรวจเชิง ปริมาณสามารถทำได้โดยการส่งทางไปรษณีย์ (ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองหรือ self-completion) แบบตัวต่อตัว (ตามถนนหรือที่บ้าน) ทางโทรศัพท์ อีเมล์หรือเทคนิคเวปไซด์ แบบสอบถามเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลจาก การสำรวจ แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมืออันหลากหลายที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

วิจัยตลาด marketing research

        การวิจัยเชิงคุณภาพช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเป็นเช่นนั้นได้อย่างไรหรือเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เช่น ผู้ทำการวิจัยทางการตลาด อาจหยุดถามลูกค้าที่ซื้อขนมปังชนิดหนึ่งและถามว่าทำไมถึงเลือกซื้อขนมปังชนิดนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนการวิจัยเชิงปริมาณ เพราะการวิจัยเชิง คุณภาพไม่มีคำถามตายตัว หากมีเพียงแค่แนวทางหัวข้อ (หรือแนวทางการอภิปราย) ที่ใช้ในการสำรวจหัวข้อต่างๆแบบเจาะลึก โดย ส่วนใหญ่การสนทนาระหว่างผู้สัมภาษณ์ (หรือผู้ดำเนินการ/ Moderator) กับผู้ถูกสัมภาษณ์จะดำเนินไปตามความคิดและความรู้สึกของ ผู้ตอบคำถาม
        เช่นเดียวกันกับเทคนิคเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) ก็มีอยู่หลากหลายเช่นกัน การวิจัยในรูปแบบนี้ ส่วนมากนิยมทำกันแบบตัวต่อตัว (face-to-face) และหนึ่งในเทคนิคที่รู้จักกันแพร่หลายคือ การอภิปรายกลุ่มการวิจัยตลาด (market research group discussions) (หรือเฉพาะกลุ่ม) ซึ่งมักจะประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6-8 คนกับผู้ทำการวิจัยซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องถามคำถาม และดึงเอาคำตอบออกมา กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตปฏิกิริยา และทำการบันทึกภาพหรือเสียง
ที่มา http://www.db4business.com/marketing_research.htm

ระบบข้อมูลในการตัดสินใจทางการตลาด

เทศโนโลยีสารสนเทศทางการตลาด
 คุณสมบัติของระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System: MIS) มีดังนี้ ระบบสารสนเทศทางการตลาดเก็บรักษาและบูรณาการข้อมูลการตลาดจากแหล่งต่างๆ MIS แจกจ่ายข้อมูลให้กับผู้บริหารในการตัดสินใจ และพนักงาน ระบบสารสนเทศทางการตลาด สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในด้านการวางแผนและควบคุม และ ระบบสารสนเทศทางการตลาดใช้เพื่อการประมวลผลข้อมูล และเป็นช่องทางการสื่อสารทางอิเลคทรอนิคส์ ระบบสารสนเทศการตลาด ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ผลิตภาพทางการตลาด สติปัญญาการตลาด การวิจัยตลาด และ แบบจำลองการตลาด

ส่วนประกอบของสารสนเทศการตลาด

1). ระบบการบันทึกข้อมูลภายใน เป็นการประเมินผลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าด้านการตลาด (เช่น เวลาที่ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ฯ) และผลลัพธ์ทางการตลาด (เช่น รายได้ คำสั่งซื้อ เป็นต้น) เทคนิคที่ใช้ประเมินคือ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อยอดขาย การวิเคราะห์ยอดขาย รายงานค่าใช้จ่ายการตลาด

2). สติปัญญาการตลาด เป็นการสำรวจสิ่งแวดล้อมทางการตลาดเพื่อติดตาม และประเมินการพัฒนาการของสิ่งแวดล้อมทุกๆวัน กล่าวคือ นักการตลาดต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการแข่งขัน เทคโนโลยี ลูกค้า เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมายหรือสังคม วัฒนธรรม เป็นต้น โดยวิธีการเข้าร่วมประชุมสัมมนา สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เช่น ยาฮู (Yahoo) อินโฟซีค (Infoseek) หรือการสมัครเป็นสมาชิกในฐานข้อมูลมากกว่า 3,000 แหล่ง เช่น ดาต้าสตาร์ (Datastar) ยูเอ็มวัน โพรเควส (UM1 Proquest) หรือ ดัน แอนด์ แบรดสตรีท (Dun & Bradstreet) ดาวน์ โจนส์ นิวส์ (Dow Jones News) หรือวารสารวอลสตรีท (Wall Street Journal) เป็นต้น



3). วิจัยการตลาด (Marketing Research)วิจัยการตลาดเป็นองค์ประกอบอันสำคัญของระบบสติปัญญาด้านการตลาด (A Marketing Intelligence System) ซึ่งระบบดังกล่าวช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และ ตรงเวลา นักการตลาด เช่น เจนเนอร์รัลมอเตอร์ (GM) วอลมาร์ต (WalMart_ พีแอนด์จี (P&G) และ แม็คโดนัลด์ (McDonald) ประสบความสำเร็จด้านการตลาดเป็นเวลายาวนาน เนื่องจาก แต่ละบริษัทเข้าใจความต้องการของลูกค้าและเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ การตั้งราคา การส่งเสริมตลาด และการจำหน่าย ซึ่งสร้างความพอพึงใจตามความต้องการของลูกค้า

ขั้นตอนของกระบวนการวิจัยตลาด

 ขั้นตอนของการวิจัยการตลาดไว้ 5 ขั้นตอน คือ การนิยามปัญหาการตลาด(Define the problem) การพัฒนาแผนวิจัย (Develop research plan) เก็บรวบรวมข้อมูล(Collecting Data) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) และ อภิปราย และข้อเสนอแนะ



 3.1 การนิยามปัญหาการนิยามปัญหาการตลาด (Define the problem)

 ปัญหาการบริหารเป็นสิ่งที่ผู้ตัดสินใจ หรือผู้บริหารต้องการ ในขณะที่ปัญหาการวิจัยเป็นข้อมูลที่ต้องการ และเป็นวิธีการหาข้อมูล ปัญหาการบริหารเน้นที่การปฏิบัติ เช่น วิธีการแบ่งส่วนตลาดที่มีประสิทธิผลคืออะไร? ควรเพิ่มงบการส่งเสริมการตลาดหรือไม่? การสูญเสียส่วนครองตลาดเพราะอะไร? ในขณะที่ ปัญหาการวิจัยตลาดเน้นที่ข้อมูล หรือสารสนเทศ เช่น การสูญเสียส่วนครองตลาดในสายผลิตภัณฑ์แชมพู ปัญหาของผู้บริหารคือ วิธีการฟื้นฟูส่วนครองตลาด ซึ่งมีทางเลือกที่เป็นไปได้คือ การปรับปรุงสินค้า การนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด หรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประสมการตลาด (4Ps) และการเปลี่ยนแปลงส่วนตลาด (Market segments) เป็นต้น

 3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

เก็บรวบรวมข้อมูลฑุติยภูมิ (Collecting Secondary Data)  ข้อมูลทุติยภูมิเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการเก็บรวบรวมมาแล้ว โดยบุคคลหรือสถาบันหนึ่ง ๆ
การวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Develop research plan primary Data) การพัฒนาแผนงานวิจัยเป็นงานที่เกี่ยวกับ การคัดเลือกวิธีการวิจัย วิธีการติดต่อ แผนการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การคัดเลือกสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและการอภิปรายผลดังรายละเอียดต่อไปนี้
 3.2.1. วิธีการวิจัย แนวทางการวิจัยการตลาดมี 2 ชนิด คือ การวิจัยบุกเบิก (Exploratory research) และการวิจัยสรุปผล (Conclusive research) แสดงดังภาพด้านล่าง



 3.2.2. วิธีการติดต่อ (Contact method) การติดต่อสื่อสารกับแหล่งข้อมูลจะผ่านทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer interview) ดังนี้

 ก. ไปรษณีย์ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์สามารถใช้เก็บข้อมูลจำนวนมากด้วย ต้นทุนต่ำ แต่แบบสอบถามทางไปรษณีย์จะไม่มีความยืดหยุ่น และได้รับการตอบกลับคืนในอัตราที่ต่ำ

 ข. โทรศัพท์ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์สามารถใช้เก็บข้อมูล

 ค. การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามโดยใช้บุคคลสัมภาษณ์ ซึ่งมีความ ยืดหยุ่นสูง และอัตราการได้รับแบบสอบถามที่ตอบครบสมบูรณ์จะมีอัตราสูง แต่เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บ ข้อมูลสูงกว่าการใช้โทรศัพท์ประมาณ 3 หรือ 4 เท่า เป็นต้น

 ง. การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กลุ่มผู้ซื้อที่ดื่ม กาแฟเป็นประจำ

 จ. การสัมภาษณ์ผ่านคอมพิวเตอร์ (computer interview) ซึ่งผู้ตอบนั่งที่คอมพิวเตอร์อ่านคำถามจาก หน้าจอคอมพิวเตอร์ และพิมพ์คำตอบของตนในคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อาจตั้งที่ศูนย์วิจัย งานแสดง สินค้า หรือร้านค้าปลีก เป็นต้น

 3.3. แผนการสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างจัดได้ 2 ประเภท ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น และการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 3.3.1 การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling)

 ก. การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (SRS : Simple Random Sampling) คือตัวอย่างที่เลือกหรือที่สุ่มได้จาก ประชากรเป้าหมายจะมีโอกาส/ความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือกเท่ากัน (Equal chance)

 ข. การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (Systematic Sampling) การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบผู้วิจัยจะกำหนดจุด เริ่มต้นเอง (Starting point) หลังจากนั้นจึงเลือกตัวอย่างทุกอันดับที่ n th

 ค. การสุ่มตัวอย่างเป็นชั้นภูมิ (Stratified sampling) การสุ่มตัวอย่างเป็นชั้น เป็นการแบ่งแยกสมาชิก ของประชากรทั้งหมดออกเป็นประชากรกลุ่มย่อย แล้วหลังจากนั้นจึงเลือกตัวอย่างจากประชากรกลุ่มย่อย (Subpopulation)

 3.3.2 การสุ่มโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non- Probability Sampling)

 ก. การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยต้องใช้ วิจารณญาณ หรือใช้ประสบการณ์ในการเจาะจงสุ่มหน่วยตัวอย่างนั้น ๆ มาศึกษาการสุ่มตัวอย่างแบบนี้ผู้ วิจัยควรเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับลักษณะต่าง ๆ ของประชากรเป้าหมายเป็นอย่างดี จึงจะตัดสินใจได้ว่าควรสุ่ม ตัวอย่างที่มีลักษณะเช่นใดมาศึกษา

 ข. การสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวกหรือแบบบังเอิญ (Convenience or Accidental Sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างที่อาศัยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญหรือไม่ได้ ตั้งใจ ตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบนี้จะไม่สามารถนำไปเป็นตัวแทนของประชากรได้ เพราะไม่ได้มี การควบคุมการสุ่มตัวอย่างให้เป็นไปอย่างสุ่มจึงอาจเกิดความลำเอียงในการเลือกตัวอย่างขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่ จะนำผลการวิจัยที่ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ควรจะตระหนักถึงความน่าเชื่อถือของการสุ่มตัวอย่าง ด้วย อย่างไรก็ตามการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบนี้อาจจะเหมาะสมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลบาง ประเภท



 3.4. เครื่องมือการวิจัย (Research Instrument) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม (Questionnaire) และอุปกรณ์กลไก (Mechanical devices) โดยทั่วไปแล้วแบบสอบถามจะเป็นที่นิยมใช้ในการวิจัยการตลาด

 3.5. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) วิธีการทางสถิติทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็นวิธีตัวแปรตัวเดียวและวิธีตัวแปรหลายตัวขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหา วิธีตัวแปรตัวเดียวเหมาะสมเมื่อมีการวัดค่าเดียวในแต่ละตัวอย่างของกลุ่มตัวอย่าง n หรือเมื่อมีการวัดค่าหลายค่าในแต่ละตัวอย่าง n ในแต่ละค่ามีการวิเคราะห์แยกกันอีกด้านหนึ่งวิธีการหลายตัวแปรเหมาะสมเมื่อมีการวัดค่าตั้งแต่ 2 ค่าในแต่ละตัวอย่างและแต่ละตัวแปรถูกวิเคราะห์พร้อมกันไป

 3.6. การแปลความหมายและการรายงาน (Discussion and implication) สุดท้าย นักวิจัยต้องแปลผลและจัดทำข้อสรุปสิ่งที่ค้นพบจากการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลที่ได้ การนำเสนอ ไม่ว่าทางวาจา การเขียนหรือทั้งคู่ อาจจะสำคัญต่อความสามารถของนักวิจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ

4).เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด (Quantitative tools used in Marketing Decision Support System: DSS)

 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด เป็นชุดของข้อมูล ระบบ เครื่องมือ และเทคนิคในซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ที่จัดประเภทและแปลความหมายสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจของบริษัท เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด จัดได้ 3 ประเภท คือ เครื่องมือทางสถิติ แบบจำลอง และ การตัดสินใจที่ดีที่สุด(Optimization routines) ดังรายละเอียดต่อไปนี้



เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การถดถอยเชิงเส้นตรงพหุ การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Canonical Correlation)วิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์เกาะกลุ่ม และ การวิเคราะห์นานามิติ ในขณะที่ แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองมาร์คอฟ ( Markovprocess model) แบบจำลองแถวคอย (Queuing model) แบบจำลองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แบบจำลองการตอบสนองต่อยอดขาย (Sales-response models) เป็นต้น


การตัดสินใจที่ดีที่สุด ได้แก่ แคลคูลัส ทฤษฎีการตัดสินใจทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีเกม เป็นการใช้กฎนิ้วโป้งในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เป็นต้น
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทางการตลาด และระบบสนับสนุนตัดสินใจ (Marketing Information System, Decision Support System )

ระบบสารสนเทศทางการตลาดประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ และองค์ความรู้ และการวิเคราะห์และการตัดสินใจด้านการตลาดดังรายละเอียดต่อไปนี้

 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลลูกค้า คู่แข่งขัน และสิ่งแวดล้อมการตลาดซึ่งเก็บไว้ที่ ระบบการประมวลผลการค้า (Transaction processing systems) หรือเรียกชื่อย่อว่า “TPS” และเก็บไว้ที่ระบบสารสนเทศ (Management information systems) หรือเรียกชื่อย่อว่า “MIS” โดยทั่วไป ระบบสารสนเทศจะเก็บรายงานคำสั่งซื้อ การพยากรณ์ยอดขาย และการบริหาร โดยรายงานเหล่านี้จะเก็บรวมกันข้อมูลภายนอก

 2. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ องค์ความรู้ และการวิเคราะห์ระบบปฏิบัติการสารสนเทศทางการตลาด (Operational Marketing information systems) จะเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศ และกลั่นกรองและวิเคราะห์สารสนเทศ อนึ่ง การควบคุมตลาด การวางแผนกิจกรรมตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย และการตัดสินใจจะใช้สารสนเทศภายใน

 3. การตัดสินใจด้านการตลาดระบบสารสนเทศการตลาด เป็นแหล่งสารสนเทศสำหรับระบบดีเอสเอส (DSS) ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ และผู้บริหารระดับสูงวิเคราะห์ด้วยระบบอีไอเอส/อีเอสเอส (EIS/ESS) ผลการตัดสินใจด้านการขาย และการตลาดของผู้บริหารระดับสูงจะถูกส่งกลับไปยังระบบสารสนเทศการตลาด

ประเภทของระบบสารสนเทศทางการตลาด (MkIS)

 มีทั้งหมด 2 ระบบย่อย คือ ระบบบริหารสารสนเทศการตลาด (Management MkIS) และระบบปฏิบัติการสารสนเทศทางการตลาด(operational MkIS) กล่าวคือ ระบบบริหารสารสนเทศการตลาด ประกอบด้วย 6 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบสติปัญญาด้านการตลาด (Marketing intelligence systems) ระบบการวิจัยตลาด ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการตลาด (MDSS) ระบบการวางแผนด้านการตลาด (Marketing planning systems) ระบบควบคุมด้านการตลาด (Marketing control systems และระบบรายงานด้านการตลาด (Marketing report systems)

ที่มา http://bodder49.exteen.com/

ระบบข้อมูลภายใน

ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

16
ก.ค.


สื่อการเรียนรู้นี้ เหมาะสำหรับ มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และผู้ที่มีความสนใจในเรื่อง ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

ซึ่งจะประกอบไปด้วยหลายหัวข้อได้แก่ การจัดเก็บของข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ดี จริยธรรมในโลกของข้อมูล
และการจัดการความรู้อีกทั้งยังมีภาพประกอบซึ่งจะทำให้เข้าใจในเนื้อหาได้มากขึ้น
หวังว่าสื่อการเรียนรู่นี่จะให้ประโยชน์แก่ผู่ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าไม่มากก็น้อย
หากผิดพลาดปราการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย  ‘ ขอบคุณค่ะ :D

   2.2 การจัดการความรู้ (knowledge MANAGEMENT)
ในการบริหารองค์กร สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่าเป็นตัวเงินได้ คือ ความรู้ที่ได้จากการปฎิบัติงาน เนื่องจากในการทำงาน การแก้ปัญหา การแสวงหาความรู้ การนำความรู้มาปรับใช้ โดยพนักงานในระดับต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลิดเวลาในการทำงาน พนักงานที่ปฎิบัติงานหนึ่งคนจะต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะอย่าง เพื่อทำงานให้ลุล่วงไปได้ ซึ่งการจำทำให้พนักงานหนึ่งคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นนั้น จะต้องใช้การอบรมเพื่อสร้างความรู้รวมถึงทักษะให้กับพนักงานเหล่านี้ ซึ่งความรู้ที่ถ่ายทอดให้แก่พนักงานนี้ จัดว่าเป้นทุนทางปัญญา (intellectual capital) ซึ่งเป็นสื่งที่คุณค่าอย่างสูงกับองค์กร เพราะความรู้บางอย่างต้องใช้งบประมาณและเวลาในการสร้างขึ้น ทำอย่างไรจึงจะมามารถจัดการความรู้ในองค์กรเหล่านี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูง สุด ตัวอย่างการจัดการความรู้ในองค์กร ดังรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 ตัวอย่างการจัดการความรู้ในองค์กร

(http://www.thaipr.net/dsppic/dsppic.aspxfilesid=139604B9C21A456677B6AF725591BB22)

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ สามารถช่วยองค์กรในการจัดการความรู้เหล่านี้ได้โดยระบบนี้จะทำงานแตกต่างกัน ไปตามจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งผู้ใช้ในองค์กรที่อาจประกอบด้วยพนักงานทั่วไป ผู้บริหาร หรือบุคคลภายนอก จะเป็นผู้สร้างสารสนเทศเพื่อเก็บไว้ในระบบนี้ โดยระบบจะต้องสามารถจัดหมวดหมู่ ค้นหา รวมถึงกระจายสารสนเทศเหล่านี้ให้กับผู้ใช้คนอื่นเพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ได้ตามสิทธิ์ของตนเอง ตัวอย่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ ดังรูปที่ 2.6



รูปที่ 2.6 ตัวอย่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้

(http://202.44.68.33/files/u9222/2_0.jpg)

นอกจากนี้ยังมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ที่น่าสนใจอีกด้าน หนึ่ง คือ ความฉลาดร่วม (collective intelligence) ซึ่งเป็นการสร้างความฉลาดหรือสร้างความรู้ร่วมกันระหว่างผู้ใช้ ตัวอย่างของการสร้างความรู้ในลักษณะนี้เช่น วิกิพีเดีย (Wikipedia) ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนสามารถเพิ่มเติม แก้ไข ข้อมูลร่วมกันได้ โดยผู้ใช้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูล ก็สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลหรือความรู้เหล่านั้นได้ เป็นต้น ตัวอย่างการสร้างความรู้ร่วมกันของวิกิพีเดีย ดังรูปที่ 2.7



รูปที่ 2.7 ตัวอย่างการสร้างความรู้ร่วมกันของวิกิพีเดีย (http://www.vcharkarn.com/uploads/110/110392.jpg)



  2.3 ลักษณะของข้อมูลที่ดี
มีคำกล่าวเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลไว้อย่างน่าฟังว่า ถ้าข้อมูลเข้าเป็นขยะ สื่งทีออกมาก็จะเป็นขยะด้วย (Garbage In , Garbage Out) ซึ่งหมายความว่า ถ้าข้อมูลที่นำไปประมวลผลเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ย่อมด้อยคุณภาพไปด้วย ดังนั้นเราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นด้วย
1. ความถูกต้องของข้อมูล เป็นลักษณะสำคัญยิ่งของข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแล้ว เราจะไม่สามารถได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้เลย ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ และไม่มีการตรวจสอบ เช่น ข้อมูลในโลกอินเทอร์เน็ต
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบก่อนนำมาใช้เสมอ
นอกจากนี้ข้อมูลบางประเภท เช่น ข้อมูลเสียงที่เก็บจากไมโครโฟน ดังรูปที่ 2.8 อาจมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณเสียงรบกวนเกิดขึ้นดังนั้นข้อมูลประเภทนี้ จึงต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพหรือเรียกว่า กระบวนการลดสัญญาณรบกวน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้


 รูปที่ 2.8 ข้อมูลเสียงที่เก็บจากไมโครโฟน

(http://www.chontech.ac.th/~electric/e-learn/unit8/pic/l20.gif)(http://www.carabao.net/Images/bio020.jpg)

สำหรับข้อมูลที่ได้บการบันทึกด้วยมนุษย์โดยมากมักต้องผ่านการตรวจสอบก่อน เสมอ ซึ่งอาจตรวจสอบโดยมนุษย์ หรือตรวจสอบโดยระบบ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่มีความสำคัญอาจต้องป้อนสองครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดซึ่งนักเรียนสามารถเห็นตัวอย่างของข้อมูลเหล่านี้ ได้จากการป้อนรหัสผ่านเวลาลงทะเบียนตามเว็บไซต์ต่างๆ
ที่นีกเรียนต้องป้อนรหัสหรืออีเมลสองครั้ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด ดังรูปที่ 2.9 นอกจากนี้ข้อมูลที่เป็นรหัสตัวเลขสำคัญ มักจะมีตัวเลขซึ่งเป็นหลักตรวจสอบแฝงไว้เสมอ เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก เมื่อนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล จะสามารถตรวจสอบได้ว่า หมายเลขบัตรเครดิตนั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น



รูปที่ 2.9 แสดงหน้าจอของเว็บไซต์ที่ต้องป้อนข้อมูลสองครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด

(จากหน้าต่าง http://www.imeem.com)

2. ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน ข้อมูลบางประเภทหากไม่ครบถ้วน จัดเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน เช่น ข้อมูลประวัติคนไข้ หากไม่มีหมูเลือดของคนไข้ จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ร้องขอข้อมูลต้องการข้อมูลหมู่เลือดของคนไข้ หรือข้อมูลที่อยู่ของลูกค้า ที่กรอกผ่านแบบฟอร์ม ถ้ามีชื่อและนามสกุลโดยไม่มีข้อมูลบ้านเลขที่ ถนน แขวง/ตำบล เขต/หรือจังหวัด ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ดังรูปที่ 2.10



รูปที่ 2.10 ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน

(http://web.pointasia.com/th/forum/upload/userFile/114.jpg)

       ข้อมูลการติดตามตำแหน่งของรถยนต์ด้วยระบบจีพีเอส ดังแสดงในรูปที่ 2.11 สำหรับบริษัทที่ต้องทำงานติดตามรถยนต์ ข้อมูลตำแหน่งรถยนต์ จะต้องได้รับการปรับให้เป็นจริงตลิดเวลา หากข้อมูลนั้นปรับทุกๆหนึ่งชั่วโมง จะไม่มีประโยชน์ในการติดตามตำแหน่งของรถยนต์ ดังนั้นในเรื่องความถูกต้องตามเวลาของข้อมูล จึงเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเมื่อ

ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลหรือประมวลผลข้อมูล



รูปที่ 2.11 ระบบติดตามรถยนต์ด้วยจีพีเอส

(http://www.nectec.or.th/rd/electronics/be205-45/images/Resize%20of%2001.jpg)

3. ความถูกต้องตามเวลา ในบางกรณีข้อมูลผูกอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ซึ่งถ้าผิดจากเงื่อนไขของเวลาไปแล้ว ข้อมูลนั้นอาจลดคุณภาพลงไป หรือแม้กระทั่งไม่สามารถใช้ได้ เช่น ข้อมูลการให้ยาของคนไข้ในโรงพยาบาล ดังรูปที่ 2.12 ในทางการแพทย์แล้ว ข้อมูลนี้จะต้องถูกใส่เข้าไปในฐานข้อมูลที่คนไข้ได้รับยาเพื่อให้แพทย์คน อื่นๆ ได้ทราบว่า คนไข้ได้รับยาชนิดนี้เข้าไปแล้ว แต่ข้แมูลเรื่องการให้ยาของคนไข้นี้ อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการปรับทันที
สำหรับแผนกการเงิน เพราะแผนกการเงินจะคิดเงินก็ต่อเมื่อญาติคนไข้มาตรวจสอบ หรือคนไข้กำลังออกจากโรงพยาบาล



รูปที่ 2.12 ตัวอย่างข้อมูลการให้ยาคนไข้ในโรงพยาบาล (http://www.talkystory.com/imagelib/www.talkystory.com/082009/4ecdc43b6e28249.jpg)

4. ความสอดคล้องกันของข้อมูล ในกรณที่ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง จะเกิดปัญหาขค้นในเรื่องของความสอดคล้องกันของข้อมูล เช่น ในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเก็บข้อมูลที่อยู่ลูกค้า หากต้องการนำข้อมูลไปควบรวมกับบริษัทอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีข้อมูลของลูกค้าอยู่ เช่นกัน แต่ข้อมูลในการจัดส่งเอกสารของบริษัทแห่งแรก เป็นที่อยุ่ที่พักอาศัยของลูกค้า ในขณะที่ข้อมูลในบริษัทที่สองเป็นที่อยู่ของสถานที่ทำงานลูกค้า ข้อมูลจากทั้งสองบริษัทนี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
สอดคล้องตามเวลาทั้งคู่ แต่ถ้าต้องการเก็ยข้อมูลที่อยู่ลูกค้าเพียงที่อยู่เดียว ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ ตัวอย่างของการไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ดังรูปที่ 2.13



รูปที่ 2.13 ตัวอย่างของการไม่สอดคล้องกันของข้อมูล  (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/532/34532/images/Econ/pfund/Insider.jpg)



2.4 การจัดเก็บข้อมูล
เมื่อเห็นความสำคัญของข้อมูลแล้ว ทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นให้คงอยู่ รวมถึงทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลนั้นได้อย่างรวดเร็วโดยมากและจะรวมอยู่ใน ระบบฐานข้อมูล ซึ่งนำมาใช้ในการจัดเก็บการเข้าถึงและการประมวลผล
ข้อดีในการนำฐานข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น
– การจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดภาระการเก็บเอกสารที่เป้นกระดาษได้ รวมถึงการทำซ้ำเพื่อสำรองข้อมูล สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว
– การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลประวัติการบำรุงรักษารถยนต์และข้อมูลประวัติคนไข้ ผู้ใช้ที่ต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลและนำข้อมูลที่ต้องการไปใช้ได้
– การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กร เช่น ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกหน่วยงานได้ แต่ผู้ใช้ทั่วไปในแผนกการเงิน ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลประวิติของฝ่ายบุคคลได้ เป็นต้น



รูปที่ 2.14 ข้อดีในการนำฐานข้อมูลไปใช้ในองค์กร (http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/pic/082.jpg)

2.4.1 ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล ก่อนจะกล่าวถึงลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูลสื่งแรกที่ต้องกล่าวถึงก่อน คือ ลำดับชั้นล่างสุดของการแทนข้อมูล นั่นคือ การแทนข้อมูลด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ
‘ 0 ‘ และ ‘1’ ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกตัวเลขฐานสองหนึ่งหลักนี้ว่า 1 บิต (bit) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดของข้อมูล และหากนำบิตมาต่อกันจำนวน 8 บิต จะเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) ตัวอย่างทารแทนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ดังรูปที่ 2.15



รูปที่ 2.15 ตัวอย่างการแทนข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ (http://www.doteenee.com/help/pichelp/help00088.jpg)
1. เขตข้อมูล (field) เมื่อนำข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆ ที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล เราจะจัดข้อมูลที่เป็นบิตนี้มารวมกันเพื่อแทนความหมายบางอย่าง หน่วยย่อยที่สุดที่มีความหมายในฐานข้อมูลนี้เรียกว่า เขตข้อมูล
โดยเขตข้อมูลอาจแทนข้อมูลดังตัวอย่างต่อไปนี้
–  จำนวนเต็ม (interger) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวเลขขนาด 32 บิต ซึ่งขนาดของตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิต สามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ -2,147,483,
648 ถึง 2,147,483,647 แต่ถ้าเป็นเขตข้อมูลที่ระบุไว้ว่า เป็นตัวเลขจำนวนเต็มไม่ระบุเครื่องหมาย (unsigned integer) เท่านั้นจะสามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ 0 ถึง 4,294,967,295
– จำนวนทศนิยม (decimal number) ใรคอมพิวเตอร์ จะเก็บตัวเลขทศนิยม โดยใช้ระบบโฟลททิงพอยต์ (floating piont) ซึ่งการเก็บในลักษณะนี้ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวสำหรับตำแน่งของจุด โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลตัวเลขจะมีสองขนาด คือ 32 บิต และ 64 บิต
–  ข้อความ (text) ในการแทนข้อความนั้น จะต้องเปลี่ยนข้อความให้เป็นรหัสซึ่งใช้แทนตัวอักขระแต่ละตัวเสียก่อน ตามมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้เป็นรหัสแอสกี (ASCII code) ซึ่งต่อมามีการใช้รหัสแบบยูนิโคด (Unicode) ที่สามารถแทนภาษได้หลายภาษามากกว่ารหัสแอสกี
ความยาวของเขตข้อมูลประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอักขระในข้อความ
– วันเวลา (date/time) ข้อมูลที่เป็นวันเวลา เช่น วันที่เริ่มใช้งาน วันลงทะเบียน และเวลาที่ซื้อสินค้า มีความแตกต่างจากข้อมูลประเภทอื่น ดังนั้นจึงต้องมีชนิดของข้อมูลเป็นวันเวลา เพื่อรองรับเขตข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นวันเวลา
– ไฟล์ (file) เขตข้อมูลบางประเภทใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆซึ่งเขตข้อมูลประเภทนี้จะ เป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่ โดยปกติแล้วจะมีความยาวมากกว่าเขตข้อมูลประเภทอื่นๆ โดยเขตข้อมูลนี้จะเก็บข้อมูลในลักษณะเป็นบิตเรียงต่อกัน

2. ระเบียน (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเขตข้อมูลแต่ละส่วนอาจจะเป็นข้อมูลต่างชนิดกัน ระเบียนแต่ละระเบียนจะประกอบด้วยโครงสร้างเขตข้อมูลที่เหมือนกัน ตัวอย่างระเบียน ดังรูปที่ 2.16



รูปที่ 2.16 ตัวอย่างระเบียน

(http://61.7.157.234/pornsak/41201/images/pet.gif)

3. ตาราง (table) คือ กลุ่มของระเบียน ซึ่งเขตข้อมูลในแต่ละระเบียนจะเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในตารางจะเก็บข้อมูลหลายๆระเบียน แต่ละระเบียนจะมีโครงสร้างเหมือนกันในตาราง นอกจากจะเก็บข้อมูลหลายระเบียนแล้ว ยังสามารถอ้างถีงระเบียนแต่ละระเบียนได้อีกด้วย ตัวอย่างตารางข้อมูลนักเรียน ดังรูปที่ 2.17



รูปที่ 2.17 ตัวอย่างข้อมูลนักเรียน   http://school.obec.go.th/muangkrabi/webbased/picture/image025.jpg

       4. ฐานข้อมูล(database)เป็นที่รวมของตารางหลายๆ  ตารางเข้าไว้ด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เก็บข้อมูลซึ่งเหมือน กันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกัน บางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับ ตารางอื่น ในขณะที่บางตาราง อาจต้องเชื่อมโยงกับเขตข้อมูลของตารางอื่น



2.5 จริยธรรมในโลกของข้อมูล
คำว่าจริยธรรมเป็นคำที่มีความหมายกว้างแม้กระทั้งในด้านคอมพิวเตอร์ ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องจริยธรรมเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงจริยธรรม ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศประเด็นต่างๆดังนี้



รูปที่ 2.18 การรบกวนความเป็นส่วนตัวโดยใช้โทรศัพท์มือถือ  http://www.apecthai.org/apec/upload/virus.jpg

2.5.1 ความเป็นส่วนตัว เมื่อข้อมูลปรากกอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้การรวบรวมข้อมูลการเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้น ทำให้ข้อมูลบางประเภทที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น เลขประจำตัวประชาชน
วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลประวัติการรักษา อาจรั่วไหลไปสู่สาธรณะได้ บางครั้งข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของเจ้าของ ข้อมูล  เช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์มือถือซึ่งถูกเก็บไว้โดยสถานพยาบาล อาจรั่วไหลไปสู่บริษัท
ที่มีการประชาสัมพันธ์การขายผ่านโทรศัพทืมือถืออาจทำให้เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์นั้น ถูกรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังรูปที่ 2.18
ก่อนจะเเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้ง ต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว ผลเสียจากการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ อาจย้อนกลับมาสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในอนาคต เช่น นักเรียนโพสต์รูปของตนเองและเพื่อนไว้ในเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม แต่เพื่อนของนักเรียน
อาจได้รับผลกระทบจากรูปนั้นก็ได้



รูปที่ 2.19 ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม http://www.scc.ac.th/info/work/comsystem/changepasswd/chgpwd002.jpg

ในบางกรณีการไม่เปิดเผยข้อมูลอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้ เช่น ในการปรึกษาเกี่ยวกับการแพทย์ เรื่องความผิดปกติทางเพศ หรือการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากต้องเปิดเผยข้อมูลจริงเหล่านี้ การใช้นามแฝงแทนจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
แต่กรณีเหล่านี้จะไม่สามารถทำได้ในเว็บไซต์ที่กำหนดให้กรอกข้อมูลจริง เพื่อสมัครใช้บริการ
2.5.2 สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ในการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง
หรือไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง ตัวอย่างเช่น พนักงานแผนกการเงินซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเงินเดือน ไม่ควรได้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลประวัติส่วนตัวของพนักงานทั่วไปได้ เป็นต้น ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ดังรูปที่ 2.19
หากการเข้าใช้ระบบเพื่อเข้าถึงข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องสิทธิ์ในการเข้า ถึงข้อมูล ดังนั้นสิทธิ์ในการเข้าระบบก็จะจัดอยู่ในเกณฑ์ข้อนี้ด้วย โดยปกติแล้วการเข้าถึงระบบใดๆนั้น ผู้ใช้จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ (system administrator) ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแล บำรุงรักษาระบบ
ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ การเขาถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2550เป็นต้นมา มีความผิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหลายข้อ ยกตัวอย่างเช่น
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ
นอกจากนี้ยังมีการระบุความผิดที่เกี่ยวข้องกับการดักรับข้อมูลซึ่งเดิน ทางอยู่ในระบบเครือข่ายโดยการดักรับนี้ไม่ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดเช่นกัน
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั้วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า จากตัวอย่างของพระราชบัญญติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้นทุกคนต้องพึงระวังการใช้คอมพิวเตอร์และการเข้าใช้งานเครือข่าย แม้ว่าการกระทำบางอย่างอาจไม่ใช่ความผิดขั้นร้ายแรงถึงกับมีโทษจำคุกหรือ ปรับเงิน แต่การกระทำการใดๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น อาจก่อความรำคาญหรือรบกวนการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้เช่นกัน
2.5.3 ทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการผลิตโปรแกรม ระบบปฎิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฎอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล ผู้ใช้คนอื่นๆสามารถทำซ้ำและนำไปใช้โดยไม่ได้จ่ายเงินให้กับผู้ผลิต
ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจกับเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงต้องพิจารณาขอบเขตของสิทธิ์ที่ตนเองได้รับในข้อมูลดังกล่าว  และเป็นการสมควรหรือไม่ที่จะดาวน์โหลดและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้
นอกจากนี้การนำข้อความหรือรูปภาพจากสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพจากเว็บประกอบในการทำรายงาน โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ดังรูปที่ 2.20  ถือว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงตามหลักจริยธรรมสากลของการนำข้อมูลไปใช้



รูปที่ 2.20 ตัวอย่างการคัดลอกข้อความ หรือภาพประกอบการทำรายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่ง

ที่มาhttp://www.junjaowka.com /verse/3.3.50/01.jpg

      จะเห็นว่า ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีมูลค่า ถึงแม้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะไม่ได้รับการตีราคาออกมาเป็นจำนวนเงิน แต่ผู้ที่มีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ รวมถึงวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่า ย่อมสามารถบริหารงานภายในองค์กร และสามารถแช่งขันกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เป็นสื่งที่ควรรู้ และเป็นทักษาะที่ต้องฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือทางด้านสารสนเทศเพื่อการเก็บรวบรวม ประมวลผล รวมถึงแสดงข้อมูลและสารสานเทศเหล่านี้ มีให้ใช้ได้อย่างหลากหลาย ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง และมีจริยธรรม ควรพิจารราให้ดีว่า การใช้เครื่องมือ ข้อความ รูปภาพใดๆที่ได้มาควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกกฏหมาย และจริยธรรม รวมทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้แก่ผู้อื่น จากการใช้สื่งเหล่านั้น
เกร็ดน่ารู้
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
ลิขสิทธิ์ (copyright) หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่กฏหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆเกี่ยวกับงาน ที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิ์ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ด้วย สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ถือเป็นงานที่เข้าข่ายมีลิขสิทธิ์
เครื่องหมายการค้า (trademark) หมายถึงเครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อ แสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น โดยสัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ
สิทธิบัตร (patent) หมายถึง สิทธิ์พิเศษที่กฏหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ บัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่ายเป็นต้น สำหรับการละเมิดสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกหรือ ผลิตซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้ง 3 ประเภทนี้ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฏหมายตามหระราชบัญญัติ
เกร็ดน่ารู้
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons :CC)
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การใช้และเผยแพร่สื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การใช้สื่อมีอิสระโดยยังคงรักษาสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน บุคคลอื่นสามารถใช้และเผยแพร่สื่อได้ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานกำหนด เช่น ต้องระบุที่มาของสื่อ (Attribution:by) ห้ามใช้ทางการค้า (Noncommercial:nc) ห้ามแก้ไขต้นฉบับ
(No Derivative work:nd) ถ้ามีการแก้ไขต้นฉบับต้องอ้างถึงสัญญาเดิม (ShareAlike: sa)

ที่มา https://somwink.wordpress.com/category/๑۩۩-บทที่-2-ข้อมูล-สารสนเทศ/